สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ประชุมผู้ประกอบการค้างาช้าง สัตว์ป่า พืชป่า ให้ความรู้กฎหมาย และปัญหาการค้าสัตว์ป่าของไทย เพื่อเตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมไซเตสคอป 16 ระหว่างวันที่ 3-14 มี.ค.นี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 22 ก.พ.56 ที่ห้องประชุมอุทยานแห่งชาติสิรินาถ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นายเมธี มีชัย ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 เป็นประธานเปิดการประชุม โครงการจัดการประชุมผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชป่า ตามอนุสัญญาไซเตส เพื่อเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมไซเตสคอป 16 ระหว่างวันที่ 3-14 มี.ค.2556 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายสุรุวุฒิ สุทธมุสิก หัวหน้าฝ่ายวิชาการและคุ้มครองสัตว์ป่า ตลอดจนวิทยากร ผู้ประกอบการค้าเกี่ยวกับงาช้าง สัตว์ป่า พืชป่า องค์กรพัฒนาเอกชน และเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าช้าง สัตว์ป่า และพืชป่า ตามอนุสัญญาไซเตส เข้าร่วมประชุม
นายสุรุวุฒิ สุทธมุสิก หัวหน้าฝ่ายวิชาการและคุ้มครองสัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่ 5 (นครศรีธรรมราช) กล่าวว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 16 หรือไซเตสคอป 16 ที่กำหนดให้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-14 มี.ค.2556 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดทำโครงการจัดประชุมผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชป่าตามอนุสัญญาไซเตส เพื่อเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว ซึ่งมีบุคคลภายนอกเข้าร่วมประชุมในภาพรวม และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อนุมัติโครงการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และสั่งการให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทุกแห่ง ดำเนินการประชุมผู้ประกอบการฯ ในพื้นที่รับผิดชอบ
เพื่อปฏิบัติตามนโยบายกรมอุทยานฯ รวมทั้งป้องกันการลักลอบค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชป่าตามอนุสัญญาไซเตส ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าจึงประสานกับภาคส่วนต่างๆ จัดประชุมผู้ประกอบการ องค์กรพัฒนาเอกชน หรือเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชป่าตามอนุสัญญาไซเตส ควบคู่ไปกับการปราบปรามการค้าที่ผิดกฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อให้ผู้ประกอบการ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้มีความรู้ ความเข้าใจถึงระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการค้างาช้าง สัตว์ป่าฯ ตลอดจนปัญหาการค้าสัตว์ป่าของประเทศไทย เพื่อรณรงค์ และเสริมสร้างความร่วมมือในการค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชป่าที่ถูกกฎหมายเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมไซเตสคอป 16 รวมทั้งเพื่อประชาสัมพันธ์การประชุมไซเตสคอป 16 ด้วย
ขณะที่นายเมธี มีชัย ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าฯ กล่าวว่า ปัจจุบัน สถานการณ์ลักลอบค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชป่า เป็นปัญหาสำคัญที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อสารมวลชนบ่อยครั้ง ทั้งปัญหาการลักลอบนำเข้า-ส่งออกเพื่อการค้าระหว่างประเทศ เช่น งาช้าง หนังเสือ เขาสัตว์ งู ลิ่น หมี ลิง นก เป็นต้น จนประเทศไทยถูกกล่าวหาว่าเป็นเส้นทางผ่านของการลักลอบขนสัตว์ป่า และพืชป่าไปยังประเทศอื่นๆ โดยสามารถจับกุมผู้กระทำผิดด้านสัตว์ป่า ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบันได้มากกว่า 3,000 คดี ตรวจยึดของกลางได้มากกว่า 50,000 ตัว รวมทั้งซากสัตว์อีกจำนวนมาก
ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส ได้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งมีชีวิตในโลก เพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษยชาติในอนาคต จึงได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมไซเตสคอป 16 กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้มอบนโยบายให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทุกแห่งจัดการประชุมผู้ประกอบการฯ ควบคู่ไปกับการปราบปรามการค้าที่ผิดกฎหมายอย่างเข้มงวด และประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เสริมสร้างความร่วมมือในการค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชที่ถูกกฎหมาย เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมไซเตสคอป 16
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 22 ก.พ.56 ที่ห้องประชุมอุทยานแห่งชาติสิรินาถ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นายเมธี มีชัย ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 เป็นประธานเปิดการประชุม โครงการจัดการประชุมผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชป่า ตามอนุสัญญาไซเตส เพื่อเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมไซเตสคอป 16 ระหว่างวันที่ 3-14 มี.ค.2556 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายสุรุวุฒิ สุทธมุสิก หัวหน้าฝ่ายวิชาการและคุ้มครองสัตว์ป่า ตลอดจนวิทยากร ผู้ประกอบการค้าเกี่ยวกับงาช้าง สัตว์ป่า พืชป่า องค์กรพัฒนาเอกชน และเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าช้าง สัตว์ป่า และพืชป่า ตามอนุสัญญาไซเตส เข้าร่วมประชุม
นายสุรุวุฒิ สุทธมุสิก หัวหน้าฝ่ายวิชาการและคุ้มครองสัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่ 5 (นครศรีธรรมราช) กล่าวว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 16 หรือไซเตสคอป 16 ที่กำหนดให้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-14 มี.ค.2556 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดทำโครงการจัดประชุมผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชป่าตามอนุสัญญาไซเตส เพื่อเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว ซึ่งมีบุคคลภายนอกเข้าร่วมประชุมในภาพรวม และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อนุมัติโครงการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และสั่งการให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทุกแห่ง ดำเนินการประชุมผู้ประกอบการฯ ในพื้นที่รับผิดชอบ
เพื่อปฏิบัติตามนโยบายกรมอุทยานฯ รวมทั้งป้องกันการลักลอบค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชป่าตามอนุสัญญาไซเตส ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าจึงประสานกับภาคส่วนต่างๆ จัดประชุมผู้ประกอบการ องค์กรพัฒนาเอกชน หรือเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชป่าตามอนุสัญญาไซเตส ควบคู่ไปกับการปราบปรามการค้าที่ผิดกฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อให้ผู้ประกอบการ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้มีความรู้ ความเข้าใจถึงระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการค้างาช้าง สัตว์ป่าฯ ตลอดจนปัญหาการค้าสัตว์ป่าของประเทศไทย เพื่อรณรงค์ และเสริมสร้างความร่วมมือในการค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชป่าที่ถูกกฎหมายเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมไซเตสคอป 16 รวมทั้งเพื่อประชาสัมพันธ์การประชุมไซเตสคอป 16 ด้วย
ขณะที่นายเมธี มีชัย ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าฯ กล่าวว่า ปัจจุบัน สถานการณ์ลักลอบค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชป่า เป็นปัญหาสำคัญที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อสารมวลชนบ่อยครั้ง ทั้งปัญหาการลักลอบนำเข้า-ส่งออกเพื่อการค้าระหว่างประเทศ เช่น งาช้าง หนังเสือ เขาสัตว์ งู ลิ่น หมี ลิง นก เป็นต้น จนประเทศไทยถูกกล่าวหาว่าเป็นเส้นทางผ่านของการลักลอบขนสัตว์ป่า และพืชป่าไปยังประเทศอื่นๆ โดยสามารถจับกุมผู้กระทำผิดด้านสัตว์ป่า ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบันได้มากกว่า 3,000 คดี ตรวจยึดของกลางได้มากกว่า 50,000 ตัว รวมทั้งซากสัตว์อีกจำนวนมาก
ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส ได้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งมีชีวิตในโลก เพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษยชาติในอนาคต จึงได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมไซเตสคอป 16 กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้มอบนโยบายให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทุกแห่งจัดการประชุมผู้ประกอบการฯ ควบคู่ไปกับการปราบปรามการค้าที่ผิดกฎหมายอย่างเข้มงวด และประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เสริมสร้างความร่วมมือในการค้างาช้าง สัตว์ป่า และพืชที่ถูกกฎหมาย เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมไซเตสคอป 16
โดย.. ASTV Manager ภาคใต้